มารยาทการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น

ร้านอาหาร

  • ไม่เคลื่อนย้ายโต๊ะ เก้าอี้เอง ถ้าต้องการย้ายให้บอกพนักงาน
  • จะออกจากร้านแล้วจะกลับมาใหม่ ให้บอกพนักงาน เพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
  • ไม่นั่งแช่ในร้าน ไม่ว่าจะเพื่อทำงานหรือติวหนังสือก็ตาม

ห้องน้ำ

  • ใช้กระดาษชำระที่เตรียมไว้ให้ในห้องน้ำเท่านั้น และทิ้งกระดาษชำระลงชักโครกได้เลย ถังขยะมีไว้เพื่อใส่ผ้าอนามัย และขยะอื่นๆ
    toilet
  • ห้องน้ำแบบญี่ปุ่น ให้นั่งหันเข้าโถที่นูนออกมา

toilet2

ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต

  • ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งไม่มีถุงพลาสติกบริการ ต้องพกถุงจ่ายตลาดไปเอง หรือบางที่ต้องเสียเงินเพื่อซื้อถุงพลาสติก
  • คนญี่ปุ่นไม่ทานอาหารหรือแกะอาหารที่ซื้อเพื่อทานทันทีในร้านถ้าในร้านไม่มีที่นั่งสำหรับทานอาหารให้ และร้านสะดวกซื้อในเมืองฮิกาชิคาวะไม่มีที่นั่งทานอาหารในร้าน

ชีวิตประจำวัน

  • เดินบนทางเท้าเท่านั้น หรือถ้าทางเดินและทางรถไม่แบ่งชัดเจน ให้เดินชิดที่สุด
  • การขึ้นรถโดยสาร ต้องรอให้คนลงลงก่อนถึงจะขึ้นได้ รถประจำทางในญี่ปุ่นจะแบ่งแยกทางขึ้นและทางลงชัดเจน
  • ปิดประตูทุกครั้ง เพื่อป้องกันแอร์ออก เพื่อประหยัดไฟ
  • แยกขยะให้ชัดเจน (วิธีการแยกขยะและวันทิ้งขยะแตกต่างกันไปตามแต่ละเมือง)
    junk

จักรยาน

  • ขับบนทางเท้าให้ระวังคนเดินก่อนเสมอ ไม่กดกริ่งเร่ง เพราะเป็นการรบกวนผู้อื่น
  • ปั่นชิดซ้าย
  • หยุดเมื่อเจอทางแยกทุกครั้ง
    bicycle
  • ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนหรือระหว่างปั่นจักรยาน
  • ไม่พูดคุยโทรศัพท์ หรือใช้หูฟังขณะปั่นจักรยาน
  • เปิดไฟจักรยานในเวลากลางคืนทุกครั้ง
  • ควรจอดจักรยานให้เป็นระเบียบ หรือถามทางร้านว่าควรจอดอย่างไร
  • ใช้จักรยานของหอเท่านั้น และกลับมาคืนที่เดิมทุกครั้ง เพราะจักรยานมีจำนวนจำกัด ต้องแบ่งกันใช้

ข้อพึงปฏิบัติของนักท่องเที่ยวไทย

สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้เขียนข้อความ เพื่อเป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวกับแบบแผนปฏิบัติของสังคมญี่ปุ่นที่ต้องการให้ นักท่องเที่ยวไทยได้ทราบและปฏิบัติหรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่าง ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทยณกรุงโตเกียว ชี้แจงว่า ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงความเห็นว่าสังคมประเทศใดดีกว่าหรือด้อยกว่าแต่อย่างใด

  1. ขึ้นลงบันไดเลื่อนยืนชิดซ้ายหากเร่งรีบให้เดินในช่องทางขวา ยกเว้นบางพื้นที่ เช่น ภูมิภาคคันไซ คนญี่ปุ่นจะยืนชิดขวาและเปิดพื้นที่ทางซ้ายสำหรับการเดินขึ้นลง รวมไปถึงการเดินบนทางเท้า คนญี่ปุ่นจะแบ่งช่องทางการเดินเท้าอย่างชัดเจน เป็นระเบียบจนคนต่างชาติสังเกตได้ทีเดียว
  2. งดการพูดคุยโทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะโดยสารขนส่งสาธารณะ เช่น รถประจำทางและรถไฟ รวมทั้งปิดเสียงโทรศัพท์และเปิด manner mode หรือระบบสั่น
  3. การเข้าคิวเป็นเรื่องปกติที่ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะต่อคิวรอรถประจำทาง เข้าห้องน้ำ หรือรอคิวร้านอาหารและซื้อของตามร้านค้า แม้กระทั่งผู้สูงอายุหรือเด็กก็รอคิว ไม่มีการแซง เพราะทุกคนถือว่าต้องให้คนมาถึงก่อนได้รับบริการก่อนตามลำดับ
  4. เวลาโดยสารลิฟท์ ผู้ที่เข้าไปคนแรกควรกดเปิดประตูให้ผู้โดยสารคนอื่นๆ เข้ามาในลิฟท์ และกดให้คนอื่นๆ ออกจากลิฟท์ไปก่อน หากไปที่ชั้นเดียวกัน คนไทยอาจประหลาดใจ หากพบว่าคนกดประตูลิฟท์ให้เป็นผู้หญิง และผู้โดยสารลิฟท์คนอื่นๆ เป็นผู้ชายทั้งหมด
  5. เวลาชำระเงินตามร้านค้า ควรวางเงินลงในถาดที่ร้านจัดเตรียมไว้ ข้อดีคือเป็นการป้องกันการสับสนเมื่อร้านค้ารับและทอนเงินคืน หากสังเกต เมื่อเราชำระเงินด้วยธนบัตรใหญ่ เช่น 1 หมื่นเยน พนักงานจะพูดย้ำกับลูกค้าว่ารับเงินมา 1 หมื่นเยน พร้อมกับถือธนบัตรโชว์แก่พนักงานคนอื่นๆ ว่ารับธนบัตรใหญ่มา และเมื่อทอนเงินคืน จะนับเงินให้เห็นและวางลงในถาดคืนแก่ลูกค้า
  6. เมื่อต้องการได้รับบริการจากร้านค้า หากพนักงานกำลังให้บริการลูกค้าคนอื่นอยู่ก่อนหน้า ต้องรอจนกว่าจะมีพนักงานคนอื่นมาให้บริการหรือจนกว่าพนักงานจะให้บริการลูกค้าคนก่อนหน้าเสร็จก่อน ไม่ควรแทรกด้วยการถามหรือเรียกให้มาบริการตนก่อน
  7. หลีกเลี่ยงการพูดคุยเสียงดังในที่สาธารณะ คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการเคารพความเป็นส่วนตัวและถือว่าพื้นที่สาธารณะ เป็นพื้นที่ส่วนรวมที่คนในสังคมใช้ร่วมกันเราจึงเห็นบรรยากาศในสถานีรถไฟ ญี่ปุ่นในช่วงเช้าและเลิกงานว่าไม่ค่อยมีเสียงดังจากการพูดคุยทั้งที่มีคน จำนวนมากแต่เสียงที่ได้ยินกลับเป็นเสียงคนเดินมากกว่า
  8. แยกขยะเวลาทิ้ง โดยทิ้งขยะให้ถูกต้องตามประเภทของขยะ ทั้งนี้ โดยทั่วไปในญี่ปุ่น เราจะไม่พบถังขยะตามทางเท้า ยกเว้นหน้าร้านค้าสะดวกซื้อสถานีรถไฟ และภายในอาคาร
  9. ขับรถโดยคำนึงถึงคนเดินเท้า โดยเฉพาะทางม้าลาย รถจะต้องหยุดให้คนข้ามถนนหมดเสียก่อนถึงขับต่อไปได้ ไม่มีการบีบแตรไล่หรือขับผ่านโดยไม่หยุดที่ทางม้าลาย
  10. ไม่ใช้ตะเกียบของตนเองคีบอาหารให้คนอื่น หากจะคีบอาหารให้คนอื่น ใช้ตะเกียบคู่ใหม่หรือใช้ตะเกียบของตนและกลับด้านตะเกียบเพื่อคีบอาหาร รวมทั้งผู้รับอาหารไม่รับอาหารโดยนำตะเกียบมาคีบรับ แต่ยื่นจานของตนให้